ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์: กรณีศึกษา วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง

Show simple item record

dc.contributor.author ชลัท รังสิมาเทวัญ จิรวดี โยยรัมย์
dc.date.accessioned 2017-09-23T07:46:55Z
dc.date.available 2017-09-23T07:46:55Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.citation โครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์ en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2270
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูล บริบท แหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ และรูปแบบความต้องการในการพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ของวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เพื่อพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และเพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กรณีศึกษา วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามเพื่อยืนยันสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาระบบจากบุคลากรที่ทำงานในสำนักงานเขตวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง นักวิชาการ และ ชุมชน ประเมินผลความพึงพอใจระบบโดยใช้แบบประเมินประเภทแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.829 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ บุคลากรที่ทำงานในสำนักงานเขตวนอุทยานภูเขาไฟกระโดงจำนวน 10 คน และ ผู้นำชุมชนองค์กร จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยทั้งนี้ใช้วิธีเลือกเชิญกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : กรณีศึกษาวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง ที่ผู้ศึกษาค้นคว้าได้พัฒนาขึ้น โดยสื่อมัลติมีเดียถูกจัดเก็บในรูปของไฟล์ที่เป็นแอบพลิเคชั่น นำเสนอบนอุปกรณ์พกพาที่ใช้ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ และผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ : กรณีศึกษาวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ดานการออกแบบมีคุณภาพ รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือด้านการใช้งาน 2) ความพึงพอใจต่อการใช้งานสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ กรณีศึกษาวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเปนรายดาน พบวาด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านประสิทธิภาพของระบบ รองลงมาคือ ด้านความสามารถของระบบกับ ความต้องการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความปลอดภัยของระบบ en_US
dc.description.sponsorship Faculty of Science Buriram Rajabhat University en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สื่อมัลติมีเดีย en_US
dc.title การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียส่งเสริมการท่องเที่ยวเสมือนจริงบนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์: กรณีศึกษา วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง en_US
dc.type Research en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics