ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การจัดการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างประเทศไทย ลาว กัมพูชา เพื่อพัฒนาการศึกษาที่ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันในการเป็นประชาคมอาเซียน

Show simple item record

dc.contributor.author อรธิดา, ประสาร
dc.date.accessioned 2017-09-17T03:55:42Z
dc.date.available 2017-09-17T03:55:42Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2082
dc.description.abstract บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการจัดการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างประเทศไทย ลาว กัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการศึกษาที่ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันในการเป็นประชาคมอาเซียน 2) เพื่อจัดการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา ที่สามารถนาไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาที่สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันและ3) เพื่อศึกษาผลการใช้ความรู้และถอดบทเรียนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา ที่สามารถนาไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาที่สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informant) ของการศึกษาลักษณะร่วมขององค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา คัดเลือกจากผู้มีความรู้ ความน่าเชื่อถือ การมีบทบาทในชุมชน มีประสบการณ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับ ฮีต 12 คอง 14 หรือประเพณี 12 เดือน และเป็นผู้ที่เป็นศูนย์รวมของคนในชุมชนเป็นที่ยอมรับของชุมชน เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามวิถีประเพณีในชุมชนมาอย่างต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 10 ปี ในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ 1) อาเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 2) บ้านไพรพัฒนา อาเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีชาติพันธุ์เขมร 3) บ้านตะเคียนราม อาเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีชาติพันธุ์เขมร 4) บ้านใจดี อาเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีชาติพันธุ์เขมร 5) บ้านหัวนา อาเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 6) อาเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีชาติพันธุ์ลาว 7) เมืองจาปาสัก แขวงจาปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 8) เมืองปากเซ แขวงจาปาสัก 9) เมืองอันลองเวง จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา และ10) จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา กลุ่มเป้าหมายสาหรับการศึกษาผลการใช้ความรู้ และถอดบทเรียนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา คือ 1) นักศึกษา โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” (กลุ่มการศึกษาและวัฒนธรรม) หน้า 24 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 สาขาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จานวน 30 คน 2) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาอังกฤษ วิทยาลัยสร้างครูสะหวันนะเขต แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จานวน 50 คน 3) นักศึกษาชั้นปีที่ 3/1 สาขาวิชาบริการการท่องเที่ยววิทยาลัยเทคนิคจาปาสัก เมืองปากเซ แขวงจาปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จานวน 31 คน 4) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการบัญชี และการตลาด มหาวิทยาลัย Southeast Asia University จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา จานวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์องค์ความรู้ประเพณีสิบสองเดือน (ฮีตสิบสองคองสิบสี่) ของประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา 2) แบบสัมภาษณ์การจัดการเรียนการสอนด้านวัฒนธรรม ของประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา 3) แบบสังเคราะห์แก่นความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะร่วมขององค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วม ระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา 4) แบบสอบถามการรับรู้องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมของประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชาของนักเรียน และนักศึกษา การวิเคราะห์ ลักษณะร่วมขององค์ความรู้ และการจัดการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วม ระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา โดยการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์แบบอุปมาน (Analytic Induction) การสรุปข้อมูลจากปรากฏการณ์ที่พบจากบริบทของพื้นที่ที่ทาการศึกษา จากผู้ให้ข้อมูล และการมีส่วนร่วมในการสังเกตการประกอบพิธีกรรมตามประเพณี และวิเคราะห์ผลการใช้ความรู้ และถอดบทเรียนองค์ความรู้ จากแบบสอบถามการรับรู้องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมของประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และประเทศกัมพูชา โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. ลักษณะร่วมขององค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วม ระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา พบว่า การรับรู้และการปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันของคนในสังคมเกี่ยวกับประเพณี 12 เดือน เป็นจารีตประเพณีความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ สั่งสมกันมาอย่างต่อเนื่อง 2. ผลการจัดการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างไทย ลาว และกัมพูชา ที่สามารถนาไปสู่การพัฒนาการจัดการศึกษาที่สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พบว่า ไทย ลาว กัมพูชา มีวัฒนธรรมมุขปาฐะ 1) Verbal Folklore (นิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน สุภาษิต ปริศนาคาทาย) 2) Performing Folklore (การละเล่น การแสดงพื้นบ้าน ละครชาวบ้าน) 3) Material Folklore (เครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน เครื่องจักรสาน ผ้าทอ ยา อาหารพื้นบ้าน) 4) Customary Folklore (ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม การรักษา) โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” (กลุ่มการศึกษาและวัฒนธรรม) หน้า 25 3. ผลการใช้ความรู้ พบว่านักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 สาขาภาษาไทย คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จานวน 30 คน พบว่า ระดับความเข้าใจในการนาไปปฏิบัติโดย รวมอยู่ในระดับปานกลาง (X= 3.44, S.D = 0.81) นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัย สร้างครูสะหวันนะเขต จานวน 50 คน พบว่า ระดับความเข้าใจในการนาไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับ มาก (X= 4.18, S.D =0.15) นักศึกษาสาขาวิชาบริการการท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3/1 วิทยาลัยเทคนิคจาปา สัก จานวน 31 คน พบว่า ระดับความเข้าใจในการนาไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X=4.43 S.D =0.573) และนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชี และการตลาด ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัย Southeast Asia University จานวน 45 คน พบว่า ระดับความเข้าใจในการนาไปปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X= 3.39, S.D = 0.817) en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject วัฒนธรรมร่วม en_US
dc.subject ประชาคมอาเซียน en_US
dc.subject Co-culture en_US
dc.subject ASEAN Community en_US
dc.title การจัดการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมร่วมระหว่างประเทศไทย ลาว กัมพูชา เพื่อพัฒนาการศึกษาที่ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกันในการเป็นประชาคมอาเซียน en_US
dc.title.alternative Knowledge Management on Co-Culture for Educational Development to Promote Better Understanding in Thailand Laos and Cambodia for the Sustainability of ASEAN Community en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics