ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความมั่นคงด้านน้ำ: การดำรงอยู่ของพื้นที่เชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติ ในลุ่มน้ำป่าสักจังหวัดลพบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author วิลาศ, เทพทา
dc.date.accessioned 2017-09-16T09:12:10Z
dc.date.available 2017-09-16T09:12:10Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2069
dc.description.abstract ความมั่นคงด้านน้ำ : การดำรงอยู่ของพื้นที่เชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติในลุ่มน้ำป่าสัก จังหวัดลพบุรีเป็นบทความวิจัยที่เกิดขึ้นจากการศึกษาแหล่งต้นน้ำ และแหล่งต้นน้ำลำธารในพื้นที่เชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติที่อยู่ร่วมกับพื้นที่เกษตรกรรมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมกายภาพและบริบทโดยรอบ ตลอดจนศักยภาพ ปัญหาและอุปสรรคการจัดการน้ำเชิงอนุรักษ์และพัฒนาในแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธาร และ 2) เสนอแนวทางการจัดการน้ำเชิงบูรณาการเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธารร่วมกับพื้นที่เกษตรกรรม การดำเนินงานวิจัยเป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนเช่น การสำรวจพื้นที่ การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลท้องถิ่นด้านมรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม และข้อมูลสารสนเทศเชิงภูมิศาสตร์ ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ในช่วงระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธารในเขตเทือกเขาหินปูนลุ่มน้ำป่าสักได้ถูกพื้นที่เกษตรกรรมคืบคลานเข้าปิดล้อมพื้นที่และช่วงใช้ทรัพยากรน้ำอย่างอิสระเพื่อสร้างพลังการผลิต โดยปราศจากการควบคุมและการบริหารจัดการน้ำระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ จนทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติถูกคุกคาม ถูกทำลาย เสื่อมโทรมและสูญเสีย ซึ่งค่าข้อมูลอัตราการให้น้ำในพื้นที่ที่มีความเปราะบางทางนิเวศของแหล่งต้นน้ำและตาน้ำในป่าจำปีสิรินธร พ.ศ. 2554 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ พ.ศ. 2555 และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ในพื้นที่แหล่งต้นน้ำห้วยกระเจา พ.ศ. 2556 พบว่าการสูบทดสอบมีอัตราการให้น้ำไม่เพียงพอต่อการรักษาระบบนิเวศให้มีความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพดังเดิมที่เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ ตลอดจนยังเกิดความย้อนแย้งของการจัดการพื้นที่เชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติกับการพัฒนาพื้นที่ภาคเกษตรกรรมที่มีเป้าหมายการดำเนินงานไม่สอดคล้องซึ่งกันและกันจึงส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมและการสูญเสียความ โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” (กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) หน้า 543 หลากหลายทางชีวภาพและความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในพื้นที่แหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธารอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มของปัญหาเข้าสู่ขั้นวิกฤติ ดังนั้นแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่เชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธารร่วมกับการใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมจึงควรใช้แนวคิดและแนวทางการสร้างความมั่นคงด้านน้ำ เข้ามาแก้ไขปัญหา โดยการรักษาความเป็นพื้นที่ธรรมชาติให้ดำรงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศภายในแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธาร ด้วยมาตรการการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ การคุ้มครองและกำหนดแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธารให้มีความชัดเจน การพัฒนาผังบริเวณของสภาพแวดล้อมด้านนิเวศวิทยาทางน้ำให้มีประสิทธิภาพ การแบ่งปันทรัพยากรน้ำอย่างเป็นธรรม และการกำหนดระเบียบ ข้อบังคับและกติกาการใช้ทรัพยากรน้ำที่ชัดเจนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดยอมรับร่วมกัน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject แหล่งต้นน้ำ (Head Water) en_US
dc.subject แหล่งต้นน้ำลำธาร (River Source) en_US
dc.subject ความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) en_US
dc.title ความมั่นคงด้านน้ำ: การดำรงอยู่ของพื้นที่เชิงอนุรักษ์ทางธรรมชาติ ในลุ่มน้ำป่าสักจังหวัดลพบุรี en_US
dc.title.alternative Water Security: The Existence of Natural Conservation Areas in Pasak Watershed, Lop Buri Province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics