ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในบริบทประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.author สานนท์, ด่านภักดี
dc.contributor.author เดือนเพ็ญพร, ชัยภักดี
dc.date.accessioned 2017-09-15T10:26:40Z
dc.date.available 2017-09-15T10:26:40Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1509
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ เพื่อเตรียมการปฏิบัติ การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ตามกรอบแนวคิด แนวทางการบริหารของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแบ่งออกเป็น 3 ตัวชี้วัด คือ คุณภาพนักเรียน คุณภาพครู คุณภาพผู้บริหาร สถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 288 คน ซึ่งได้ มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถามตามมาตรส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert Type) จำนวน 52 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติที่ใช้ในการทดสอบ สมมติฐานได้แก่ สถิติทดสอบเอฟ (F - test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมสถานศึกษาทุกขนาดมีการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2. สถานศึกษาขนาดเล็กมีการการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทุกด้านมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง และสถานศึกษาขนาดใหญ่ และสถานศึกษาขนาดเล็กมีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนทุกด้านมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” (กลุ่มการศึกษาและวัฒนธรรม) หน้า 690 3.1 ด้านคุณภาพนักเรียนที่ควรดำเนินการสูงสุด คือ รัฐบาลควรมีการจัดสรรงบประมาณในการจัดหาสื่อประกอบการเรียนการสอน และ ควรมีวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้แก่นักเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจ 3.2 คุณภาพครู ที่ควรดำเนินการสูงสุด คือ ครูควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ให้เข้ากับประชาคมอาเซียน รองลงมาคือ ครูต้องมีทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ 3.3 ด้านคุณภาพผู้บริหารสถานศึกษา ที่ควรดำเนินการสูงสุด คือ ผู้บริหารควรมีการสนับสนุนส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจัดการเรียนรู้ en_US
dc.subject ประชาคมอาเซียน en_US
dc.title รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในบริบทประชาคมอาเซียนของสถานศึกษา en_US
dc.title.alternative Learning Management stye of the ASEAN community schools en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics