ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สถาบันอุดมศึกษารู้เท่าทันปัญหาแอลกอฮอล์: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ธงชัย, สีโสภณ
dc.contributor.author ธิดารัตน์, คีมกระโทก
dc.contributor.author และคณะ
dc.date.accessioned 2017-09-15T10:18:36Z
dc.date.available 2017-09-15T10:18:36Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1508
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมและสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถาบันอุดม ศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียงและสำรวจสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของพนักงานในสถานประกอบการ รวมทั้งเพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อการดำเนินงานด้านการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของสถาบันอุดมศึกษาและพื้นที่ใกล้เคียง ผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามพร้อมการสัมภาษณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกเป็นนักศึกษาและประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยในระยะทาง 500 เมตร จำนวน 100 คน กลุ่มที่ 2 เป็นผู้ประกอบหรือลูกจ้างของร้านค้าที่จำหน่ายแอลกอฮอล์บริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัยในระยะทาง 500 เมตร จำนวน 100 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตข้อมูลที่จะทำการเก็บรวบรวมเป็น 4 ประเด็น คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม 2) พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ 3) ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ4) ทัศนคติต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมคำนวณทางสถิติ และนำเสนอข้อมูลโดยใช้แจกแจงความถี่คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏและประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุระหว่าง 15-20 ที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้มหาวิทยาลัยไม่เกิน 5 กิโลเมตร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 0-4,000 ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังดื่มแอลกอฮอล์อยู่ โดยมีความถี่ในการดื่มคือ ดื่มเป็นครั้งคราว นานๆครั้ง มีการดื่มเฉลี่ยครั้งละ 5-10 แก้ว/ครั้ง (1 แก้ว เท่ากับ 30 มิลลิลิตร) สถานที่ดื่มจะเป็นที่บ้าน/ที่พักของ สถานที่ดื่มภายในสถานศึกษา คือ โรงอาหาร นิยมดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเหล้าสี ค่าใช้จ่ายในการซื้อ โครงการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” (กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) หน้า 1197 เครื่องดื่มแอลกอฮอล์/รายเดือน 1,000 -1,500 บาท ซื้อเป็นเงิน หลังจากดื่มแอลกอฮอล์เคยขับรถกลับบ้านด้วยตนเองบางครั้ง และไม่เคยประสบอุบัติเหตุหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ อุบัติเหตุครั้งล่าสุดได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยเจ็บป่วยจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการดื่ม ไม่เคยขาดเรียนเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ มีความประสงค์ที่จะเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สาเหตุที่จะเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสูญเสียค่าใช้จ่ายมากเกินไป มีความเห็นด้วยหากสถาบันการศึกษา จะดำเนินการด้านการควบคุมเครื่องดื่ม และมีความต้องการให้สถาบันการศึกษาจัดกิจกรรมสนับสนุนให้นักศึกษาหรือพนักงานเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ โดยจัดกิจกรรมสร้างเสริมกำลังใจ ด้านผลการศึกษาในกลุ่มพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เป็นร้านค้าที่จำหน่ายแอลกอฮอล์บริเวณใกล้ เคียงมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่เป็นเป็นเจ้าของร้าน/เจ้าของสถานประกอบการ เพศหญิง มีอายุระหว่าง 35-44 ปี ที่อยู่อาศัยปัจจุบันอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้มหาวิทยาลัยไม่เกิน 5 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,000-20,000 ลักษณะของกิจการเป็นร้านขายของชำ ประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่จำหน่าย คือ เหล้าสี เวลาที่เปิดปิดร้าน คือ ช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 8.00-20.00 น. ลูกค้าที่มาซื้อเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ คือวัยทำงาน สถานภาพของลูกค้าที่มาซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏและประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย รวมทั้งร้านค้าที่จำหน่ายแอลกอฮอล์ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความเห็นสอดคล้องเกี่ยวกับการตระหนักถึงผลเสียของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับทัศนคติเพราะมีการเห็นด้วยกับการดื่มสุราทำให้มีความกล้าและมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้นการดื่มสุราเป็นเรื่องปกติของคนธรรมดาทั่วไปและสังคมมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการดื่มสุราของบุคคลรวมทั้งการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นการผ่อนคลายความเครียดและการจัดงานเลี้ยงรื่นเริง สังสรรค์ต่างๆ จำเป็นต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้มีความกล้าหาญ มั่นใจ กล้าแสดงออก มีทัศนคติที่เห็นด้วยเกี่ยวกับแสดงพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบ เช่น เหตุผลที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกคืออยากลองอยากรู้ การดื่มสุราทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนมากดื่มในงานเลี้ยงสังสรรค์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการดื่มเพื่อความสนุกสนานกับเพื่อนๆ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มมากกว่า 2 ครั้งต่อเดือน หลังจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้มีเพศสัมพันธ์หลังจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่รู้ตัว หลังจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เคยเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อให้เกิดปัญหากับคนในครอบครัวและหลังจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด นิสัยและพฤติกรรมก้าวร้าว en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สถาบันอุดมศึกษา en_US
dc.subject รู้เท่าทัน en_US
dc.subject เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ en_US
dc.subject ทัศนคติ en_US
dc.subject นักศึกษา en_US
dc.title สถาบันอุดมศึกษารู้เท่าทันปัญหาแอลกอฮอล์: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative The higher education Institution knowing the true of alcohol problem: A case study of Buriram Rajabhat University en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics