ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

สถิติวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาบทบาทการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาในการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author รินทร์หทัย, กิตติ์ธนารุจน์
dc.contributor.author พวงเพชร, ราชประโคน
dc.contributor.author เขมิกา, อารมณ์
dc.contributor.author รัชนีกร, ทบประดิษฐ์
dc.contributor.author กิตติคุณ, บุญเกต
dc.contributor.author ทองสา, บุตรงามุ
dc.date.accessioned 2017-09-15T10:02:05Z
dc.date.available 2017-09-15T10:02:05Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1505
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาในการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 ซึ่งกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ในปีการศึกษา 2558 ซึ่งกำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรในการคำนวณในกรณีที่ทราบจำนวนประชากร และประชากรมีจำนวนไม่มาก ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 312 ตัวอย่าง เมื่อได้ขนาดตัวอย่างแล้วจะใช้แผนการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ในการสุ่มตัวอย่าง โดยแบ่งประชากร 9,231 คน ออกเป็น 6 กลุ่ม และทำการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่คำนวณไว้จากแต่ละกลุ่มให้ครบทุกกลุ่มด้วยการสุ่มตัวอย่างนักศึกษาอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยกำหนดจำนวนนักศึกษาให้เป็นสัดส่วนกับขนาดนักศึกษาแต่ละคณะ สำหรับตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ ชั้นปีที่ศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสม คณะที่ศึกษา อาชีพบิดาอาชีพมารดา ภูมิลำเนา ลักษณะการพักอาศัย จำนวนการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาใน 1 ภาคเรียน บุคคลที่นักศึกษาขอคำปรึกษานอกจากอาจารย์ที่ปรึกษา ตัวแปรตาม ได้แก่ บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลปัจจัยด้านบุคคลของนักศึกษา ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานของอาจารย์ที่ปรึกษาในการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t – test และการทดสอบ F – test ผลการวิจัย พบว่า ด้านที่นักศึกษามีความคิดเห็นต่อบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาน้อยที่สุดคือด้านวิชาการ โดยเรื่องที่นักศึกษาคิดว่าอาจารย์ที่ปรึกษาปฏิบัติน้อยที่สุด คือเรื่อง ให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับต่างๆในการศึกษา )56.3=X( เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา พบว่า นักศึกษาที่มีเพศต่างกันจะมีความคิดเห็นในด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 นักศึกษาที่มีชั้นปีที่ศึกษาต่างกันจะมีความคิดเห็นในด้านด้านบริการและสวัสดิการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม คณะที่ศึกษา จำนวนการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาใน 1 ภาคเรียน บุคคลที่นักศึกษาขอคำปรึกษานอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในทุกด้าน โดยนักศึกษาที่บิดามีอาชีพต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในด้านวิชาการ ด้านบริการและสวัสดิการ ด้านการวางแผนและเลือกอาชีพ และด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และนักศึกษาที่มารดามีอาชีพต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในด้านวิชาการ ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ ด้านการทำกิจกรรมต่างๆ ด้านบริการและสวัสดิการ และด้านการวางแผนและเลือกอาชีพ สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในด้านวิชาการด้านการทำกิจกรรมต่างๆ ด้านบริการและสวัสดิการ ด้านการวางแผนชีวิตและการเลือกอาชีพ และด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม และนักศึกษาที่มีลักษณะการพักอาศัยต่างกันจะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในด้านวิชาการและด้านการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject อาจารย์ที่ปรึกษา en_US
dc.subject บทบาท en_US
dc.subject ระดับความคาดหวัง en_US
dc.title สถิติวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ใช้ในการศึกษาบทบาทการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาในการลดปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Statistical analysis for application in the study of the operational advisors to reduce student dropout Buriram Rajabhat University en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics