ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเปราะบางในชุมชนพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศกับชุมชนท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้าน กรณีศึกษา:จังหวัดอุบลราชธานี

Show simple item record

dc.contributor.author อนุชา, เพียรชนะ
dc.contributor.author จุฑารัตน์, ศรีอุไร
dc.contributor.author อรพรรณ, วงศรีแก้ว
dc.date.accessioned 2017-09-15T09:31:48Z
dc.date.available 2017-09-15T09:31:48Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.citation การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 4” en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1500
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพด้านเศรษฐกิจ-สังคม การปรับตัวของชุมชนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พื้นที่ชุมชนรอยต่อระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิประไตยประชาชนลาวและวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การปรับตัวของชุมชนจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนโดยใช้วิธีการประชุมกลุ่มย่อยและสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาสถานภาพเศรษฐกิจ-สังคมจากกลุ่มเป้าหมาย 393 ชุด ผลการวิจัย พบว่า ด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ศึกษาวิจัย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 75.7 ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ชุมชนประสบปัญหามากที่สุดคือ ปัญหาภัยแล้ง/ ขาดแคลนน้ำทางการเกษตร ร้อยละ 40.54 การการปรับตัว/เตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติของชุมชนพบว่าประชาชนมีการปรับตัวทางด้านการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 84.3 โดยการปรับตัว/เตรียมความพร้อมของชุมชนเพื่อรับมือกับความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 67.7 ชุมชนควรมีการปรับรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน(การปรับเปลี่ยนพันธุ์พืชในการเพาะปลูก, ขนาดพื้นที่เพาะปลูก)ให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศมากที่สุด ร้อยละ 47.1 โดยมีความจำเป็นการเตรียมความพร้อมด้าน การเตือนภัยและการสื่อสารในชุมชนเพื่อรับมือภัยพิบัติโดยการเกิดอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในชุมชนในอนาคตส่วนใหญ่พบว่าจำเป็น ร้อยละ 90.6 การประชุมอย่างมีส่วนร่วมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศพบว่า การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศในสถานการณ์ปัจจุบัน มีผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพทรัพยากรน้ำและลุ่มน้ำธรรมชาติทำให้ชุมชนชนบทและชุมชนเมืองเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตทางการเกษตรลดน้อยลงและเกิดโรคระบาดในพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้นในบางพื้นที่ส่งต่อผลผลิตที่ออกผิดฤดูกาล ทำให้ส่งผลต่อการดำรงชีวิตและตั้งถิ่นฐาน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ en_US
dc.subject ความเปราะบาง en_US
dc.subject การปรับตัว en_US
dc.title การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความเปราะบางในชุมชนพื้นที่รอยต่อระหว่างประเทศกับชุมชนท้องถิ่นของประเทศเพื่อนบ้าน กรณีศึกษา:จังหวัดอุบลราชธานี en_US
dc.title.alternative The impact of climate change.In the area between the communities of neighboring countries.Case study: UbonRatchathani province en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics