ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การสังเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการสนับสนุนสู่อาหารปลอดภัยในจังหวัดเพชรบูรณ์

Show simple item record

dc.contributor.author กนิฐา, แสงกระจ่าง
dc.date.accessioned 2017-09-15T09:17:12Z
dc.date.available 2017-09-15T09:17:12Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1496
dc.description.abstract การวิจัยการนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยองค์ประกอบอาหารปลอดภัยของชุมชนโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิธีการดำเนินการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น ขั้นตอน 2 ขั้นตอน คือ การเตรียมการ การศึกษาและพัฒนาองค์ประกอบตัวชี้วัด ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ คือ บุคลากรในชุมชน จำนวน 124 ชุมชน กลุ่มตัวอย่างจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน จำนวนชุมชนละ 36 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบและ การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงสำรวจ สรุปผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการสนับสนุนสู่อาหารปลอดภัยในแต่ละด้าน ซึ่งมีทั้งหมด 10 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย และความพอเพียงของอาหารด้านความเป็นธรรม คุณธรรม และระบบสวัสดิการ ด้านความเข้มแข็งของสังคมและชุมชนในการจัดการความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย ด้านเศรษฐกิจและรายได้ ด้านระบบการตลาด และการขนส่ง ด้านการบริหารจัดการศักยภาพและความพอเพียงการผลิต ด้านคุณภาพ มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ด้านองค์ความรู้และนวัตกรรม ด้านพอเพียงต่ออาหาร ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้ย่อยว่ามีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบหรือไม่ โดยใช้ Bartlett’s Test of Sphericity (χ2) เพื่อทดสอบว่าเมทริกซ์สหสัมพันธ์เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์หรือไม่ และค่า KMO (Kaiser-Meyer-Olkin Measure of Sampling Adequacy) ซึ่งบ่งชี้ว่าตัวบ่งชี้ย่อยนั้นมีความสัมพันธ์เหมาะสมที่จะนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบหรือไม่ ผลการวิเคราะห์พบว่าเมทริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้ย่อยของตัวบ่งชี้หลักแต่ละด้านแตกต่างต่างจากเมทริกซ์เอกลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าดัชนี KMO มีค่าระหว่าง 0.782-0.887 ซึ่งถือว่าสูงและมีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่าค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้ย่อยว่ามีความเหมาะสมในการนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพบว่าค่าความแปรปรวนทั้งหมดที่องค์ประกอบอธิบายได้ (total variance) มีค่าระหว่างร้อยละ 49.276-79.307 จากนั้นเมื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลโครงสร้างองค์ประกอบของอาหารปลอดภัยทั้ง 10 ด้านมีความตรงเชิงโครงสร้าง กล่าวคือองค์ประกอบที่ได้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า χ 2 ต่ำหรือใกล้เคียงกับค่า df มีค่าอยู่ระหว่าง 10-45 ค่า p มีค่าสูงกว่า .05 มีค่าอยู่ระหว่าง .088-.617 ดัชนี GFI และ AGFI มีค่าสูงเข้าใกล้หรือเท่ากับ 1 และดัชนี RMSEA มีค่าต่ำเข้าใกล้ 0 มีค่าอยู่ระหว่าง 0.000-0.063 en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject อาหารปลอดภัย en_US
dc.title การสังเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการสนับสนุนสู่อาหารปลอดภัยในจังหวัดเพชรบูรณ์ en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics