ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์

Show simple item record

dc.contributor.author อพันตรี, พูลพุทธา
dc.contributor.author กนกอร, คำผุย
dc.contributor.author ธิดารัตน์, ไสยสิทธิ์
dc.contributor.author นุจรีย์, สุคนธวารีย์
dc.date.accessioned 2017-09-15T05:26:25Z
dc.date.available 2017-09-15T05:26:25Z
dc.date.issued 2016-11-24
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1403
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม จำนวน 3 แผน 2) ชุดกิจกรรมประกอบการจดัการเรยีนร้แูบบหอ้งเรยีนกลับทาง จาํนวน 3 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) แบ่งระดับความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 81.45/83.46 แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม มีค่า 0.7434 ส่งผลให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.34 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางด้วยชุดกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.23, S.D.=0.76) และรายด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 ด้านเนื้อหา (X = 4.27,S.D.=0.10) อยู่ในระดับมาก อันดับ 2 ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ (X = 4.23, S.D.=0.12) อยู่ในระดับมาก และอันดับ 3 ด้านจุดประสงค์การเรียนรู้/คำชี้แจง (X = 4.22, S.D.=0.09) อยู่ในระดับมาก en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง en_US
dc.subject ชุดกิจกรรม en_US
dc.title การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง ด้วยชุดกิจกรรม เรื่อง ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ en_US
dc.title.alternative Science Learning Development about Weather Phenomena by learning through Flipped Classroom via a Series of Activities for Grade 7 Kosumwittayasan School Students en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics