ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา : นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2556

Show simple item record

dc.contributor.author ธงรบ, ขุนสงคราม
dc.date.accessioned 2017-09-15T04:04:54Z
dc.date.available 2017-09-15T04:04:54Z
dc.date.issued 2015-01
dc.identifier.citation หน้า 203-214 en_US
dc.identifier.issn 1686-0101
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1388
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อ รายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในประเด็นดังนี้ 1) ด้านหลักสูตรการเรียน การสอน 2) ด้านผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน 3) ด้านบุคลากรสายผู้สอน [ดนตรี (โสตศิลป์), นาฏศิลป์, ทัศนศิลป์] และ 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน การดำาเนินการ วิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างแบบสอบถามจากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 ประเมิน ความเหมาะสมของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ และปรับปรุงแบบสอบถามให้มีความ เหมาะสม ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบความเป็นไปได้ของแบบสอบถามจากการสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาภาคปกติ ปีการศึกษา 2556 จำานวน 683 คน ได้มาโดย วิธีการแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .8267 สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำามาสรุปและ อภิปรายผลข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า : 1. จำานวนผู้ตอบแบบสอบถาม 683 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใหญ่เป็น นักศึกษาเพศหญิง ร้อยละ 68.4 และเพศชาย ร้อยละ 31.6 มีอายุระหว่าง 17-19 ปี ร้อยละ 74.7 และอายุระหว่าง 20-23 ปี ร้อยละ 25.3 ระดับการศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อย ละ 42.8 ชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 31.9 และชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 25.3 ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1/2556 ร้อยละ 57.2 และภาคการศึกษาที่ 2/2556 ร้อยละ 42.8 สาขาวิชาที่ศึกษา มากที่สุดคือ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ร้อยละ 34.7 รองลงมาคือ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม ร้อยละ 32.0 และน้อยที่สุดคือ สาขา วิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ ร้อยละ 7.0 โดยสังกัดคณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากที่สุด ร้อยละ 89.5 และคณะวิทยาการจัดการ ร้อยละ 10.5 2. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อ รายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่า ในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ( = 3.81, S.D. = 0.71) ในด้านผลการเรียนรู้ตาม กรอบมาตรฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D. = 0.73) ในด้านบุคลากรสายผู้สอน อยู่ในระดับมาก ทางดนตรี (โสตศิลป์) ( = 4.06, S.D. = 0.73) ทาง นาฏศิลป์ ( = 4.07, S.D. = 0.70) ทางทัศนศิลป์ ( = 3.89, S.D. = 0.77) และในด้านสื่อการเรียน การสอน อยู่ในระดับมาก ( = 4.02, S.D. = 0.73) 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 3.1 ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และด้านผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐาน พบว่า หลักสูตรมีความครอบคลุมในเนื้อหาได้ดี ผู้เรียนได้ รับรู้เกี่ยวกับความงามของศิลปะทั้ง 3 ศาสตร์ ทั้ง ด้านดนตรี (โสตศิลป์) นาฏศิลป์ และทัศนศิลป์ ที่ มีความเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เวลาเรียน 5 สัปดาห์ น้อยไปเพราะเนื้อหาแต่ละศาสตร์มากจึง ทำาให้ผู้เรียนจำาแนกเนื้อหาไม่ได้ อาจารย์ผู้สอนมีการ วัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย ในระหว่างเรียน ผู้เรียนผู้สอนช่วยกันแสดงความคิดเห็นและแลก เปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเน้นคุณธรรม จริยธรรม ทั้งนี้ รายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญา ท้องถิ่นสามารถนำาไปใช้ในชีวิตประจำาวันได้อีกด้วย 3.2 ด้านบุคลากรสายผู้สอน พบว่า อาจารย์ผู้สอนมีการเตรียมการสอนที่ดี มีการอธิบาย แผนบริหารการสอนและจุดประสงค์ของรายวิชา เป็นอย่างดี อาจารย์ผู้สอนมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีกิริยาวาจา ท่าทางในขณะสอนอย่างเหมาะสม เคร่งครัด ในการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา เน้นการแต่งกาย ถูกระเบียบในชั้นเรียน แต่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ซักถามแสดงความคิดเห็นน้อยเกินไป ผู้เรียนสับสน เวลาเรียนของผู้สอนแต่ละศาสตร์สาขาวิชา และ อยากให้รายวิชานี้มีผู้สอนเพียงคนเดียว 3.3 ด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า สื่อ การเรียนการสอนบางศาสตร์สาขาวิชาน้อยไป และ สื่ออุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนยังไม่เพียงพอ ต่อจำานวนนักศึกษา en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ความคิดเห็น, รายวิชาสุนทรียศาสตร์ กับภูมิปัญญาท้องถิ่น, นักศึกษาภาคปกต en_US
dc.title ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาสุนทรียศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา : นักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2556 en_US
dc.title.alternative Opinions of students on the Aesthetics and Local Wisdom courses : A case study of Regular students of Buriram Rajabhat University in the academic year 2013 en_US
dc.type Article en_US
dc.contributor.emailauthor - en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics