ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนโดยใช้การสอนเขียนแบบกึ่งควบคุมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Show simple item record

dc.contributor.author ดวงมณี, จินายง
dc.date.accessioned 2017-09-13T06:40:36Z
dc.date.available 2017-09-13T06:40:36Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ พ.ศ. 2558 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1250
dc.description.abstract ภาษาอังกฤษนับว่าเป็นภาษาสากลที่ทั่วโลกใช้ในการติดต่อสื่อสารกันมาตั้งแต่อดีต ป้จจุบัน และในอนาคต ได้อย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติ และยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุด ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการสร้างความเช้าใจต่อ กันระหว่างมวลมนุษย์ทุกๆ ด้าน ยิ่งในศตวรรษที่ 21 เป็นโลกยุคข่าวสารไร้พรมแดนและวิทยาการต่างๆ มีความ เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง จึงทำให้ภาษาอังกฤษมีส่วนเกี่ยวช้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุคนี้ มากขึ้น ป้จจุบันประเทศไทยก็เป็นประเทศหนึ่งที่ภาษาอังกฤษได้เช้ามามีบทบาทต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน ไทยมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการศึกษา วัฒนธรรมและการติดต่อค้าขาย จะพบว่าภาษาอังกฤษถูกนำมาใช้ใน ชีวิตประจำวันมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งออกมาในรูปของการเขียนในสื่อต่างๆ เข่น ป็ายโฆษณา สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรค หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E- mail) ตำราแบบเรียน สื่อและสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น (พวงหยก ส่องศรี. 2548 : 1-2) การเขียนนับเป็นการสื่อสารที่มีวิธีการที่ซับซ้อนกว่าทักษะอื่น เพราะ ผู้,ที่สามารถ,พิง พูดอ่าน ได้ดีจะช่วยให้สามารถถ่ายทอดความเช้าใจ ความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการออกมาทาง การเขียนเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเช้าใจได้ดีเข่นกัน ทักษะการเขียนจึงเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายที่คงทน ถาวรเป็นหลักฐานที่ดีกว่าทักษะอื่น (จุไร วรศักดี้โยธิน. 2540 : 3) ฉะนั้นผู้เขียนจึงต้องพยายามเขียนคำให้ถูกต้อง ใช้ภาษาที่ถูกต้องเพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเช้าใจ เรียกได้ว่าการเขียนที่ดีมีประสิทธิภาพ ในการเขียน นอกจาก ต้องคำนึงถึงเนื้อความตามวัตถุประสงค์ สำนวนที่สละสลวยถูกต้องตามหลักภาษาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการสะกดคำ ด้วย (สาลินึ ภูติกนิษฐ. 2541 : 1) และต้องเขียนให้ผู้อ่านเช้าใจตรงตามจุดประสงค์ที่ต้องการสื่อสารด้วย (สุกัทรา อักษรานุเคราะห์. 2540 : 74) เมื่อเปรียบเทียบการเขียนกับทักษะอื่นๆ แล้วกระบวนการของการเรียนรู้และการใช้ ทักษะการเขียนมีขึ้นตอนที่ต้องใช้เวลาในการคิดและการผลิตภาษาที่นานกว่า (จุทารัตน์ คัมภีรภาพ. 2547 : 40) จึงนับเป็นทักษะที่ยุ่งยากและซับซ้อนสำหรับผู้สอนและผู้เรียน สำหรับผู้สอนนอกจากจะเป็นทักษะที่สอนยากแล้ว การตรวจงานหลังจากที่สอนไป แล้วก็เป็นภาระหนักอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหากสอนผู้เรียนจำนวนมาก สำหรับผู้เรียน การที่ต้องเขียนเป็นภาษาต่างประเทศยากยิ่งขึ้นกว่าการเขียนเป็นภาษาแม่ เนื่องจากผู้เรียนขาดความรู้ด้านภาษา และเนื้อหาที่ต้องการจะเขียน (บำรุง โตรัตน์. 2545 : 60) การที่นักเรียนไทยในป็จจุบันยังไม่ประสบผลสำเร็จด้านการเขียนเท่าที่ควร นักวิชาการด้านการสอน ภาษาอังกฤษจำนวนมากได้พยายามแยกประเด็นป็ญหาสรุปได้ว่า เกิดจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ คือ ป็ญหา ครูผู้สอน ป็ญหาการขาดแรงจูงใจในการเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนและป็ญหาสภาพแวดล้อมการเรียนการสอน (ประนอม สุรัสวดี. 2545 : 12-14) ทั่งนื้เพราะผู้เรียนมีโอกาสเขียนภาษาอังกฤษน้อยมาก จากการศึกษา ความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษ พบว่า ข้อบกพร่องในการเขียนที่พบมากที่สุดคือ ข้อบกพร่องด้านการใช้ โครงสร้างไวยากรณ์ รองลงมาคือข้อบกพร่องด้านการใช้เครื่องหมายวรรคตอน อักษรตัวใหญ่ การเว้นวรรคคำ (มนตรา พิพัฒน์ศรีสวัสดี้. 2546 : 83-87) ดังนั้นการที่จะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการ ประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นั้น นักเรียนต้องมีพื้น ฐานความรู้เรื่องคำ วลี สำนวน ประโยคต่าง ๆ ที่แตกต่างกันระหว่างภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ต้องมีความรู้ โครงสร้างไวยากรณ์ เพื่อสามารถใช้ในการนำเสนอข้อมูลในเรื่องกิจวัตรประจำวันได้ถูกต้องตามหลักภาษา ดังนั้น ทักษะการเขียนจึงเป็นทักษะที่จำเป็นต้องรีเกให้กับนักเรียน (ทิพย์วรรณ ธงภักดี้. 2546 : 18) ป็ญหาที่สำคัญ อีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดรีเริ่ม สร้างสรรค์ถ้าหากว่าบรรยากาศนั้นก่อให้เกิดความเป็นกันเองและสร้างความพอใจให้แก่ผู้เรียนก็จะสามารถช่วย กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การเขียนที่ดีได้ (สุภาวดี ปุญจบัน. 2546 : 4) เนื่องจาก ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสอนโดยให้ท่องจำและแปล ครูใช้สื่อการสอนน้อยมากเพราะจำนวนของสื่อมีน้อยไม,เพียงพอต่อ ความต้องการของครู นอกจากนี้ยังพบว่าครูใช้สื่อที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายเพราะ คิดว่าเนื้อหาภาษาอังกฤษยาก การเรียนการสอนไม่ประสบความสำเร็จ เป็นผลให้นักเรียนขาดความสนใจและ แรงจูงใจในการเรียน ผู้เรียนไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ครูจัดให้เพราะการสอนในแนวเดิมนั้นครูจะเป็นผู้ที่มีบทบาท มากที่สุด ส่งผลให้ผู้เรียนขาดการเรียนรู้อย่างมีความคิด สร้างสรรค์ ผู้เรียนจึงไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ ที่แท้จริงของการเรียนภาษาอังกฤษ จากข้อมูลรายงานผลการศึกษาของนักเรียนโรงเรียนนาลักวิทยาที่ผ่านมา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 นั้น ได้ผลสรุปว่าผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ อ 21101 ด้านทักษะการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ร้อยละ 50 ของจำนวนนักเรียนทั้งระดับ ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ตามที่โรงเรียนนาสักวิทยาได้กำหนดไว้นั้น (โรงเรียนนาลักวิทยา. 2555 : 12) จึงเป็นปีญหาที่ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นครูประจำวิชาได้ตระหนักว่าผลลัมฤทธี้ฃอง นักเรียนด้านการเขียนไม่เป็นที่นำพอใจ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ม่ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงไดีใช้ชุดกิจกรรม'ฝึกทักษะการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนเขียนแบบกึ่งควบคุม ที่น่าสนใจ ประกอบการสอนของครูให้เกิดทัศนคติที่ดี ผู้เรียนม่อีสระในการเขียนมากขึ้น ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไป ให้สมบูรณ์ จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองได้ สื่อการสอนจะช่วยให้เกิด ความเช้าใจ ซึ่งการน้าสื่อเหล่านั้นมาใช้ฝึกร่วมกันอย่างมีระบบให้สอดคล้องกับเนื้อหา แล้วจัดเป็นชุดสำเร็จรูปนั้น เรียกว่าชุดกิจกรรมฝึกทักษะ (Activity package) ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2525 : 491) ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงม่ความสนใจศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้และวิธีการที่เหมาะสมใน การจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยการสร้างชุดกิจกรรมฝึกทักษะโดยใช้การสอนเขียนแบบกึ่ง ควบคุมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เกี่ยวช้องกับการเขียนประโยคใน ภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนโดยการหาผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียน ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนาลักวิทยา อำเภอสวิ จังหวัดชุมพร และชุดกิจกรรมฝึก ทักษะ เป็นสื่งที่ช่วยเสริมการจัดการเรียนฝึกฝน พฤติกรรมการแสวงหาความรู้ของผู้เรียนโดยการฝึกฝนการเรียน ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเองเพราะนักเรียน แต่ละคนย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันและพบว่าชุดกิจกรรมฝึก ทักษะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในด้านการเรียนการสอน พร้อมทั้งให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ถูกต้องตาม หลักการเขียนประโยคต่าง ๆ ตลอดจนสามารถน้าไปพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ชุดกิจกรรมฝึกทักษะ การเขียนแบบกึ่งควบคุม en_US
dc.subject Activity packages en_US
dc.subject Less-controlled writing en_US
dc.title ผลการใช้ชุดกิจกรรมฝึกทักษะการเขียนโดยใช้การสอนเขียนแบบกึ่งควบคุมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 en_US
dc.title.alternative Effect of Using English Activity Packages Base on Less-Controlled Writing Skills to Enhance Writing Ability for Matthayomsuksa I Students en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics