ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการสร้างจิตสำนึกท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author อุดมพงษ์, เกศศรีพงษ์ศา
dc.contributor.author ม้าแก้ว, จารินี
dc.contributor.author เพียรจัด, สรรเพชร
dc.contributor.author ยุทธสารเสนีย์, ธัญรัศม์
dc.contributor.author มูลวันดี, ผกามาศ
dc.date.accessioned 2017-09-10T04:52:52Z
dc.date.available 2017-09-10T04:52:52Z
dc.date.issued 2560-06
dc.identifier.citation อุดมพงษ์ เกศศรีพงษ์ศา จารินี ม้าแก้ว สรรเพชร เพียรจัด ธัญรัศม์ ยุทธสารเสนีย์ และผกามาศ มูลวันดี. (2560). รูปแบบการสร้างจิตสำนึกท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา. 12(1). หน้า 48-60. en_US
dc.identifier.issn 19061641
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1137
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของ คนในท้องถิ่นกับป่าชุมชน และเพื่อหารูปแบบการสร้างจิตสำนึกของ คนในท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืนตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมี ส่วนร่วม การเดินสำรวจ และจัดเวทีร่วมกับชุมชนรอบป่าโคก กลางจำนวน 4 หมู่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตคนในชุมชน กับป่ามีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ป่าแห่งนี้เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า เป็น แหล่งอาหารและสร้างรายได้ แต่คนขาดจิตสำนึกในการดูแลป่า รู้จักใช้แต่ไม่ได้ดูแลเนื่องจากคิดว่าป่าไม่มีวันหมดและคิดว่าหน่วย งานราชการมีหน้าที่ต้องเข้าไปดูแล 2) ได้รูปแบบในการสร้าง จิตสำนึกของคนในท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการให้กลุ่มเยาวชนช่วยในการขับเคลื่อนการสร้าง จิตสำนึกในการรักษาป่าและมีการจัดตั้ง “กลุ่มเยาวชนคนรักษ์ โกรกประดู่” ผ่านทางโซเชียล ทำให้การรับรู้กิจกรรมเกี่ยวกับป่า และข่าวสารมีการรับรู้ได้มากขึ้น โดยสอดแทรกการยกระดับ จิตสำนึกคนในชุมชนผ่านกิจกรรม ได้แก่ การใช้เครือข่ายยุว วิจัย พิธีบวชป่าและติดป้ายอนุรักษ์รอบป่า กิจกรรมตั้งศาลต้นกุง ค่ายเยาวชนอนุรักษ์ป่า การทำ�แผนที่ป่าด้วย GPS โดยชุมชน เป็นต้น จนเกิดรูปแบบการจัดการป่าโดยการใช้หลักผู้อาวุโสใน ชุมชน และใช้ระบบความสัมพันธ์เครือญาติ กระบวนการสร้างการ เรียนรู้ข้ามวัย (เด็ก-ผู้สูงอายุ) นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ ทำให้กลุ่มคนในชุมชนมีการรวมตัวกันเพิ่มขึ้น เกิดเครือข่ายความ ร่วมมือภายในและภายนอกพื้นที่ในการทำกิจกรรมสร้างจิตสำนึก รักษาป่าชุมชน ได้ตั้งกฎกติการ่วมกัน และจัดทำป้ายข้อตกลงเรื่อง ป่า จัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อดูแลและบริหารจัดการป่า และทางองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกลาง จัดทำแผนงานเพื่อ เสนอหน่วยงานทหารสนับสนุนงบประมาณขุดลอกหนองนํ้าในป่า 2 แห่ง และขุดคลองเพื่อกั้นเขตแนวป่าที่เหลือป้องกันการบุกรุกป่า en_US
dc.description.abstract This research aims to study the relationship between local people and forest community and to find model of local consciousness for sustainable community forest conservation of Khokklang Sub - district, Lamplaimat District, Buriram Province. The data were collected from In-depth Interview Technique, Focus Group, Participant observation, walk Interview and the stage share with the communities from 4 villages around the community forest. The results showed that 1) the relationship between local people and forest community found that people in the community use the forest as a source of food and income. However, lack of awareness on the forest, they used but did not care because think that the government was responsible 2) get the model of local consciousness for sustainable community forest conservation. The model for the youth group to help drive awareness of forest conservation and established group is “Yaowachonkonrakkrokpradoo” through Facebook make awareness about the forest, and there was more awareness. And by raising awareness in the community through activities such as use of the young researcher network, wild ceremony and labeled the forest conservation, activities started early court Kung, conservation forest camp, forest mapping with GPS by community, and so on. Until cause Forest management model by using senior citizens in the community and relational system, the learning across ages (Child - Elder person) lead to the changes that has made the community group increase. Get networks of cooperation within and outside the area of forest conservation awareness activities. The community has set common rules and sanctions posted on board jungle, build formed a village committee to care and the forest management, lead to the Ministry of Khok Klang set the plans to request military funding for dig in two water sources in the middle of the jungle and dredged the canal to block the remaining forest areas to prevent forest encroachment. en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการสร้างจิตสำนึก, การอนุรักษ์ป่าชุมชน, ยั่งยืน en_US
dc.subject Model of Local Consciousness, Community Forest Conservation, Sustainable en_US
dc.title รูปแบบการสร้างจิตสำนึกท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Model of Local Consciousness for Sustainable Community Forest Conservation of Khokklang Sub-district, Lamplaimat District, Buriram Province en_US
dc.type Article en_US
dc.journal.namejournal วารสารวิจัยและพัฒนา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics