ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมความสามารถการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author อัครพนท์, เนื้อไม้หอม
dc.contributor.author พุทธชาด, ศรีพัฒนสกุล
dc.date.accessioned 2017-09-08T04:06:06Z
dc.date.available 2017-09-08T04:06:06Z
dc.date.issued 2015
dc.identifier.citation - en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/1124
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวคือเจ้าหน้าที่ และผู้ประกอบการร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหาร/เครื่องดื่ม ที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง 3) เพื่อพัฒนาป้าย แผ่นพับประชาสัมพันธ์ และรายการสินค้าเป็นภาษาอังกฤษที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดงต่อนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ และป้าย แผ่นพับประชาสัมพันธ์ และรายการสินค้าภาษาอังกฤษ ประชากรคือเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหาร/เครื่องดื่มที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 5 คน และคนไทย จำนวน 35 คน ได้แก่เจ้าหน้าที่ของวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง จำนวน 13 คน ผู้ประกอบการร้านขายของที่ระลึก จำนวน 15 คน และผู้ประกอบการร้านอาหาร/เครื่องดื่ม จำนวน 7 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม มีทั้งหมด 10 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง จำนวน 5 คน ผู้ประกอบการร้านขายของที่ระลึก จำนวน 3 คน และผู้ประกอบการร้านอาหาร/เครื่องดื่ม จำนวน 2 คน การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 3) นวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษ 4) แบบประเมินนวัตกรรม 5) แบบเก็บข้อมูลภาษาต้นฉบับและภาษาแปล และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านความต้องการใช้ภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามและการสนทนากลุ่มเห็นว่าภาษาอังกฤษมีความสำคัญและจำเป็นเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนมากที่สุด ด้านทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสองทักษะมีความจำเป็นมากที่สุดคือทักษะฟังและการพูด ด้านเนื้อหาภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าทั้งคำศัพท์และบทสนทนาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่การงานของเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการมีความจำเป็นในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษมากที่สุด 2. ด้านการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นสอดคล้องและคล้ายคลึงกันว่าหนังสือเล่มเล็กและซีดีมีความเหมาะสมกับการฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษมากที่สุด ด้านหัวข้อเพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษ พบว่าเจ้าหน้าที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดงต้องการฝึกฝนหัวข้อภาษาอังกฤษจำนวน 11 หัวข้อจากทั้งหมด 12 หัวข้อ และผู้ประกอบการต้องการฝึกฝนหัวข้อภาษาอังกฤษจำนวน 19 หัวข้อจากทั้งหมด 29 หัวข้อ 3. ด้านความต้องการป้าย แผ่นพับประชาสัมพันธ์ และรายการสินค้าภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนไทยต้องการป้ายประชาสัมพันธ์ที่มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่กันมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องการป้ายประชาสัมพันธ์ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวและป้ายบอกทางมากที่สุด ส่วนกลุ่มตัวอย่างจากการสนทนากลุ่มบอกว่าป้ายที่ผู้เข้าร่วมสนทนาต้องการมากที่สุดคือ ป้ายต้อนรับ ป้ายบอกทาง ป้ายชื่อร้านค้า ป้ายรายการอาหารและเครื่องดื่ม ป้ายสุขา ป้ายที่จอดรถ และป้ายห้ามต่างๆ 4. ผู้เชี่ยวชาญประเมินนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านรูปเล่มมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ 4.88 ตามด้วยด้านซีดีเสียงภาษาอังกฤษ ด้วยค่าเฉลี่ย 4.83 และด้านเนื้อหา ด้วยค่าเฉลี่ย 4.75 ตามลำดับ และผู้เชี่ยวชาญประเมินผลการพัฒนาป้าย แผ่นพับประชาสัมพันธ์และรายการสินค้าภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน 5. กลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่มีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในด้านเนื้อหามากที่สุด ด้วยค่าเฉลี่ย 4.84 ตามด้วยด้านรูปเล่ม ด้วยค่าเฉลี่ย 4.73 และด้านซีดีเสียงภาษาอังกฤษ ด้วยค่าเฉลี่ย 4.72 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อนวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีความพึงพอใจในด้านรูปเล่มและด้านเนื้อหามากที่สุดด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ 4.81 ตามด้วยด้านซีดีเสียงภาษาอังกฤษด้วยค่าเฉลี่ย 4.76 ส่วนด้านการพัฒนาป้ายและแผ่นพับประชาสัมพันธ์ และรายการสินค้าภาษาอังกฤษ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจโดยรวมมากที่สุดเช่นเดียวกัน en_US
dc.description.sponsorship Buriram Rajabhat University en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries -;
dc.subject นวัตกรรม ความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ประชาคมอาเซียน บุคลากรด้าน การท่องเที่ยว วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง en_US
dc.title การพัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมความสามารถการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน สำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่วนอุทยานภูเขาไฟกระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative Innovation Development of Tourism Personnel’s English Ability Improvement for Preparation to ASEAN Community at Khao Kradong Volcano Forest Park in Buriram Province en_US
dc.title.alternative Innovation Development of Tourism Personnel’s English Ability Improvement for Preparation to ASEAN Community at Khao Kradong Volcano Forest Park in Buriram Province en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor - en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics