ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

รูปแบบการจัดการวัตถุดิบแบบครบวงจรของอาหารพื้นถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ฝ้ายโคกสูง, ปิติวรรณ
dc.contributor.author ปัญญายงค์, วิษณุ
dc.contributor.author ช่อชู, คคนางค์
dc.contributor.author สมัปปิโต, จตุพัฒน์
dc.contributor.author แผลงรักษา, วณิชา
dc.date.accessioned 2024-03-21T04:06:36Z
dc.date.available 2024-03-21T04:06:36Z
dc.date.issued 2565-05
dc.identifier.citation ารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 7ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) 2565. en_US
dc.identifier.issn 2697-4150 (Online)
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8806
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพของแหล่งวัตถุดิบในชุมชนของอาหารพื้นถิ่น เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบอาหารพื้นถิ่น และศึกษาแนวทางการเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่นกับกลไกทางการตลาดในชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการแหล่งวัตถุดิบในชุมชนของอาหารพื้นถิ่นโดยตรง จำนวนทั้งสิ้น 210 คน และ กลุ่มผู้ประกอบอาหารพื้นถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 22 คน เครื่องมือที่ใช้ แบบสำรวจข้อมูลและสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าสภาพของแหล่งวัตถุดิบมี 3 แหล่ง ได้แก่ แหล่งอาหารธรรมชาติ แหล่งอาหารผลิตเอง และแหล่งอาหารซื้อขาย ผลการศึกษาบริหารจัดการของกลุ่มผู้ประกอบอาหารพื้นถิ่น พบว่ามีการบริหารจัดการ ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ การบริหารจัดการด้านคน บริหารจัดการด้านเงิน การบริหารจัดการด้านสินค้า การจัดการเครื่องมือ การบริหารจัดการวิธีการ การบริหารจัดการด้านตลาด และแนวทางการเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่นกับกลไกทางการตลาดในชุมชนบ้านโคกเมือง การเชื่อมโยงของแหล่งวัตถุดิบในชุมชน เป็นลักษณะการพึ่งพาอาศัยกัน เป็นชุมชนที่ปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือน มีตลาดชุมชนเป็นศูนย์กลางในการซื้อขาย และตัวเชื่อมสินค้าไปหาผู้บริโภค ผู้ประกอบอาหาร และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนบ้านโคกเมือง โดยระบบงานเริ่มต้นตั้งแต่การวางแผนการเพาะปลูกชนิดพืชพันธุ์ วัตถุดิบ มีการสรุปยอดนักท่องเที่ยวเพื่อปลูกวัตถุดิบให้รองรับจำนวนนักท่องเที่ยว และประสานไปยังผู้ประกอบอาหาร ปฏิทินวัตถุดิบ ปฏิทินอาหารจากธรรมชาติ เพื่อสร้างจุดเด่นของวัฒนธรรมอาหารของชุมชนบ้านโคกเมืองให้มีความยั่งยืนต่อไป บทความฉบับเต็ม : https://so06.tci-thaijo.org/index.php/mcjou/article/view/259534/174430 en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject รูปแบบการจัดการวัตถุดิบ en_US
dc.subject แหล่งวัตถุดิบ en_US
dc.subject อาหารพื้นถิ่น en_US
dc.title รูปแบบการจัดการวัตถุดิบแบบครบวงจรของอาหารพื้นถิ่นเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.title.alternative COMPREHENSIVE RAW MATERIAL MANAGEMENT MODEL OF LOCAL FOOD TO SUPPORT TOURISM IN BAN KHOKMUANG COMMUNITY, JORAKHAY MAKSUB-DISTRICT, PRAKONCHAI DISTRICT, BURIRAM PROVINCE. en_US
dc.type Article en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics