ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิราณี จุโฑปะมา en_US
dc.contributor.advisor สมศักดิ์ จีวัฒนา en_US
dc.contributor.author ศราวุธ, จันทร์วิเศษ
dc.date.accessioned 2021-11-16T03:40:31Z
dc.date.available 2021-11-16T03:40:31Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8002
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปฏิบัติงานพัสดุเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ จำแนกตามสถานภาพตำแหน่งและขนาดของโรงเรียน และเพื่อศึกษาแนวทางของผู้บริหารและครูปฏิบัติงานพัสดุเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปฏิบัติงานพัสดุเกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารจำนวน108คน ครูปฏิบัติงานพัสดุ จำนวน 136 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 244 คน ใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Sample t-test และ F - test แบบ One way ANOVAระยะที่ 2 เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานพัสดุโรงเรียน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ผู้บริหารจำนวน 3 คน ครูปฏิบัติงานพัสดุ จำนวน 3 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 6 คนโดยวิธีเจาะจงจากโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยมด้านการปฏิบัติงานพัสดุเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปฏิบัติงานพัสดุ เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจำหน่ายพัสดุ รองลงมา คือ ด้านการควบคุมพัสดุ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการวางแผนงานพัสดุ 2. ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปฏิบัติงานพัสดุ เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง โดยรวมแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าทุกด้านแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูปฏิบัติงานพัสดุ เกี่ยวกับการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการควบคุมพัสดุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆไม่แตกต่างกัน 4. แนวทางการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในเชิงนโยบายควรมีการกำกับติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานการบริหารงานพัสดุอย่างมีคุณภาพ โดยควรดำเนินการตามหลักเกณฑ์และระเบียบ กฎหมาย และหนังสือสังการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และกำชับให้ผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ ยึดหลักการบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล โดยเน้นเรื่องความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การมีส่วนร่วมและความยุติธรรม และในเชิงการปฏิบัติงาน ด้านการวางแผนงานพัสดุ โรงเรียนควรมีการประชุมวางแผนดำเนินการในด้านกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่ต้องการใช้งาน และควรพัฒนาแผนงานพัสดุและแผนการใช้งบประมาณประจำปีด้านการจัดหาพัสดุ โรงเรียนควรมีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุตรงตามคุณลักษณะที่กำหนดโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดคุณสมบัติของพัสดุ การตรวจรับพัสดุ และควรพัฒนาการปฏิบัติงานในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีการจัดซื้อหรือจ้างที่เหมาะสมและถูกต้องตามระเบียบด้านการเบิก - จ่ายพัสดุ โรงเรียนควรมีการเบิกจ่ายพัสดุเป็นระบบและรัดกุม และควรพัฒนาการบริหารงานพัสดุในการเบิก จ่ายพัสดุ ตรงตามบัญชีหรือทะเบียนพัสดุ ด้านการควบคุมพัสดุ โรงเรียนควรนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานการควบคุมพัสดุ และควรพัฒนาหรือปรับปรุงสถานที่เก็บพัสดุให้เพียงพอ เหมาะสมและปลอดภัยด้านการบำรุงรักษาพัสดุ โรงเรียนควรมีการวางแผนบำรุงรักษาพัสดุครุภัณฑ์ และควรพัฒนาการปฏิบัติงานของผู้รับผิดชอบการบำรุง เก็บรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์และด้านการจำหน่ายพัสดุ โรงเรียนควรมีการส่งเงินรายได้จากการจำหน่ายพัสดุเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบพัสดุ และควรพัฒนาการปฏิบัติงานในเรื่องการจำหน่ายพัสดุครุภัณฑ์ออกจากทะเบียนควบคุมเป็นปัจจุบัน en_US
dc.description.abstract The aims of this study were1) to examine and compare the opinions of administrators and supplies teachers towards supplies administration according to position status and size of schools;and 2) to study guidelines for supplies administration in schools. The data were collected under Secondary Educational Service Area Office 33 and divided into 2 phases. The data in the first phase were collected from 108 administrators and 136 supplies teachers, which were 244 people in total selected by using stratified random sampling method.The instrument was a 5-rating scale questionnairewiht the reliability level of .96.The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, independent sample t-test , andF - test (One way ANOVA). For phase two, 3 administrators and 3 supplies teachers , which were 6 people in total were selected to be the samples by using purposive sampling method from the school of excellent performance in supplies administration.The instrument was a semi – structured interview and the data were analyzed by using content analysis The results suggested that: 1. Supplies administration in schools under Secondary Educational Service Area Office 33 according to the opinions of administrators and supplies teachers was at a high level in overall aspects. The aspect with the highest average was Supplies Distribution, followed by Supplies Control. However, the aspect that received the lowest average was Inventory Planning. 2. Supplies administration in schools under Secondary Educational Service Area Office 33 according to the opinions of administrators and supplies teachers divided by position status in overall aspect was statistically different at the significant level of .05. 3. Comparison of the opinions of administrators and supplies teachers towards supplies administration in schools under Secondary Educational Service Area Office 33 divided by school’s size in overall aspect was not different. When considered in each aspect, the supplies control aspect was also different at statistically significant level of .05. 4. Guidelines for supplies administration in schools,in term of policy was that the quality of the supplies management should be monitored and assessed which should strictly proceed in accordance with rules, regulations, and laws. Also, supplies administrators should follow the principle of good governancewith an emphasis on transparency, accountability, participation and justice. In terms of inventory, there should be a meeting to plan the specifications of the supplies to be used and an inventory plan and annual budget plan should be developed. In terms of procurement, schools should make a plan concerning supplies procurement and assign the board to quality the properties of supplies , supplies inspection , and appropriately improve operational performance in procurement.Also, accurate procurement methods and regulations should be emphasized. In terms of supplies disbursement, systematic and concise procedure should be set and supplies management for goods disbursements should be improved.In terms of supplies control , schools should use the information system in administration and storage facilities should be developed or improved to provide adequate supplies by suitable and safe method. In terms of supplies maintenance , schools should yield some budget and assign a responsible person. Finally, for supplies disposal, schools give income from the sale of supplies to be public revenue and the operation on the distribution of supplies and supplies from the current control registration should be developed. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject การบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 en_US
dc.title การบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 en_US
dc.title.alternative Supplies administration in schools under Secondary Educational Service Area Office 33 en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics