ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์: กรณีศึกษาชุมชนตําบลกลันทา อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Show simple item record

dc.contributor.author ชัยวงศ์, ณรงค์กร
dc.date.accessioned 2022-03-15T09:39:14Z
dc.date.available 2022-03-15T09:39:14Z
dc.date.issued 2021-12-01
dc.identifier.citation วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 ประจําเดือน กันยายน – ธันวาคม 2564 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/8096
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบสุขภาวะของผู้สูงอายุในชุมชนในระยะก่อนและหลังดําเนินกิจกรรมการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์ 2) ประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม ดําเนินการวิจัยในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ผู้เข้าร่วมวิจัยประกอบด้วย 1) ครอบครัวอุปถัมภ์ จํานวน 32 ครอบครัว โดยเป็นครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเจ็บป่วยเรื้อรัง 2) นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 จํานวน 32 คน 3) อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 และ 6 ตําบลกลันทา อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จํานวน 20 คน 4) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบ้านโคกกลาง อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จํานวน 2 คน 5) ผู้ใหญ่บ้าน 2 คน หมู่ 2 และหมู่ 6 และ 6) อาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นประจําตําบลกลันทา 1 คน ดําเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ขั้นที่ 2 การวางแผนกิจกรรม ขั้นที่ 3 การดําเนินงานตามแผน ขั้นที่ 4 การสะท้อนการปฏิบัติกิจกรรม และขั้นที่ 5 การประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินสุขภาวะผู้สูงอายุแบบองค์รวม 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางปัญญา 2) แบบประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนและ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือทั้ง 3 ฉบับ (IOC) มีค่ามากกว่า 0.60 ทุกข้อ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ตามวิธีของ Cronbach’s Alpha Coefficient ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.94, 0.98 และ 0.96 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ T-test กําหนดค่านัยสําคัญทางสถิติที่ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการตีความเพื่อการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนการรับรู้สุขภาวะของตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิตใจ สุขภาวะทางสังคม สุขภาวะทางปัญญาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.48, SD 0.56) เมื่อพิจารณาทักษะรายด้านที่สูงที่สุด 3 ลําดับแรก ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม รองลงมา คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ ตามลําดับ 3) ความพึงพอใจของเครือข่ายชุมชนและครอบครัวอุปถัมภ์ ต่อกิจกรรมการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชนด้วยต้นกล้าพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด(x̄ =4.76, SD 0.33) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า กิจกรรมการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์สามารถเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุได้ อีกทั้งยังช่วยพัฒนานักศึกษาให้เกิดผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรวมถึงคนในชุมชนรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งในการที่จะช่วยสร้างและผลิตบัณฑิตพยาบาลเพื่อรับใช้สังคมตามความคาดหวังชุมชนต่อไป en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject สุขภาวะผู้สูงอายุ, ชุมชน, ต้นกล้าพยาบาล, ครอบครัวอุปถัมภ์ en_US
dc.title การสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยต้นกล้าพยาบาลกับครอบครัวอุปถัมภ์: กรณีศึกษาชุมชนตําบลกลันทา อําเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor narongkorn.cha@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics