ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสมไซเดอโรฟอร์ ต้านเชื้อราก่อโรคของหอมแดงและกระเทียมสู่ชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.author กิ่งแก้ว, ปะติตังโข, ผู้แต่งร่วม
dc.date.accessioned 2020-05-31T06:44:10Z
dc.date.available 2020-05-31T06:44:10Z
dc.date.issued 2553-05-18
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6269
dc.description.abstract ไซเดอโรฟอร์หมายถึงสารชีวภาพ (ทำหน้าที่เป็นตัวพาเหล็ก) ที่ได้จากแบคทีเรีย รา และพืชบางชนิด แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ด้านการเกษตร และอื่นๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกแบคทีเรียจากดินปากปล่องและดินจอมปลวกภูเขาไฟวนอุทยาน เขากระโดงที่สามารถผลิตไซเดอโรฟอร์ได้ มาเลี้ยงในอาหารเหลวที่มีปริมาณของเหล็กต่ำ SA แล้วแยกชนิดของไซเดอโรฟอร์ด้วยเทคนิค CAS ทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของ ไซเดอโรฟอร์ ต้านเชื้อราก่อโรคของหอมแดง และกระเทียม ผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสม ไซเดอโรฟอร์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสมไซเดอโรฟอร์ให้กับชุมชน เพื่อลดต้นทุนการผลิตหอมแดงและกระเทียม ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำดินปากปล่อง และ ดินจอมปลวกบนภูเขาไฟมาลงในอาหาร 4 ชนิด คือ Plate Count Agar, Brain Heart Infusion Agar (BHIA), Nutrient Agar (NA) และ Soil Extract Agar (SEA) มีแบคทีเรียมากมายหลายลักษณะ แต่คัดแยกมาศึกษา 96 ไอโซเลต เพื่อทดสอบความสามารถในการผลิตไซเดอโรฟอร์ด้วยเทคนิค CAS พบว่า มีแบคทีเรีย 81 ไอโซเลต ที่ผลิตไซเดอโรฟอร์ได้ โดยสังเกตจากการเปลี่ยนสีของตัวชี้วัดจากสีน้ำเงินเป็นสีส้ม แล้วเลือกอย่างเจาะจงมา 5 ไอโซเลต คือ MHB12, MHB13, MHB14, VMBH17 และVMBH18 เพื่อผลิตไซเดอโรฟอร์เพิ่มขึ้นในอาหารเหลว SA ส่วนชนิดของไซเดอโรฟอร์จากแบคทีเรีย MHB12, MHB13 และ MHB14 เป็นชนิดแคทีคอล สำหรับไซเดอโรฟอร์ที่ผลิตจาก VMBH17 และ VMBH18 เป็นชนิดไฮดรอกซาเมท ไซเดอโรฟอร์ทั้งสองชนิดสามารถออกฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger, Aspergillus porri, Botryotinia squamosa, Colletotrichum circinans และ Sclerotinia sclerotiorum ได้ดีที่สัดส่วนความเข้มข้น 0.25 กรัม/มิลลิลิตร เมื่อนำไปผสมปุ๋ยอินทรีย์แล้วทดสอบกับแปลงทดลอง พบว่า นอกจากไซเดอโรฟอร์เหล่านี้จะต้านเชื้อราก่อโรคได้แล้ว ยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของหอมแดง และกระเทียมได้ดีอีกด้วย จากนั้นคณะผู้วิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสมไซเดอโรฟอร์ให้กับชุมชน เพื่อลดต้นทุนการผลิตหอมแดง และกระเทียมให้กับเกษตรกรปลูกหอมแดง และกระเทียม บ้านโคกเพ็ก ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ แบคทีเรียทั้ง 81 ไอโซเลต ที่แยกได้จากงานวิจัยนี้ ควรนำไปผลิต ไซเดอโรฟอร์ เพื่อทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพในการต้านเชื้อราหรือแบคทีเรียก่อโรคของพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ สัตว์ ตลอดจนโรคต่างๆ ที่เกิดกับมนุษย์อีกด้วยSiderophores are bionatural compounds (iron carrier) extracted from certain bacteria, fungi, and some plants then utilized as medicine, in agriculture etc. This study aimed to 1) isolate bacteria from the soil and molehills at the dead volcano mouth in area of Khaokradong National Park, Buriram Province. The selected bacteria could produce Siderophores, and incubated in SA medium broth, then classified using CAS technique. 2) test bionatural effects of Siderophores in stopping fungi growth, the cause of diseases in onion and garlic leaves. 3) produce bionatural fertilizers, a special formula which was mixed with Siderophores. 4) transfer technology of producing special formula fertilizers to residents in communities, and 5) reduce capital for growing onions and garlic. The results revealed that when the soil and molehills were seeded into 4 culture media, viz. Plate Count Agar, Brain Heart Infusion Agar (BHIA), Nutrient Agar (NA), and Soil Extract Agar (SEA), several bacteria were existed. Only 96 bacteria were isolated to test the ability in producing Siderophores by using CAS technique. It was found that there were only 81 bacteria that could produce Siderophores observed by the changes from blue colour to orange one from indicators. The five bacteria namely, MHB12, MHB13, MHB14, VMBH17 and VMBH18 were purposive selected to produce Siderophores in SA medium broth. The Siderophores from bacteria MHB12, MHB13, and MHB14 belong to Catecholate, but another two Siderophores belong to Hydroxamate. Both Siderophores could well stop growth of fungi, A.niger, A.porri, B.squamosa, C.circinans and S.sclerotiorum at the concentration of 0.25 g/ml. When they were mixed with biochemical fertilizers and tested in experimental plot of land, it was found that not only the Siderophores could stop fungal growth, but also well promoted the growth of onions and garlic. The researchers then transferred technology of producing special formula fertilizers – the mixture of Siderophores to residents of Khokphet Village, Chumhed Subdistrict, Muang District, Buriram Province to reduce capital in investment. All these 81 bacteria should be brought to produce Siderophores to test bionatural effects in stopping fungi or bacteria, causing diseases in other plants, animals and human beings. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สูตรพิเศษผสมไซเดอโรฟอร์ ต้านเชื้อราก่อโรคของหอมแดงและกระเทียมสู่ชุมชน en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor kingkaewpatitungkho@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics