ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคนาโนที่มีอนุพันธ์ไซโทรเนลลัล เป็นตัวรีดิวซ์ต้านเชื้อราก่อโรคของพริกแบบมีส่วนร่วมของชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.author กิ่งแก้ว, ปะติตังโข, ผู้แต่งร่วม
dc.date.accessioned 2020-05-31T06:20:58Z
dc.date.available 2020-05-31T06:20:58Z
dc.date.issued 2557-09-30
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/6268
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสังเคราะห์ (Synthesis) ศึกษาสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์ (Physicochemical characterization) และฤทธิ์ทางชีวภาพ (Biological activities) ของอนุภาค นาโนที่มีอนุพันธุ์ของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural product derivatives) เป็นตัวรีดิวซ์ (Reducing agent) ต้านเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ซึ่งเป็นสาเหตุโรคแอนแทรคโนส (Anthracnose) ของพริก และต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคที่สังเคราะห์ได้เป็นอนุภาคที่มีขั้ว (Polar particles) มีสี ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่มีขั้ว (Polar solvents) เมื่อทดสอบฤทธิ์การต้านเชื้อราด้วยเทคนิค Paper disc diffusion method พบว่า ทุกสารสามารถต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรคโนสได้ โดยเริ่มต้านที่ความเข้มข้น 600 ppm และสารที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อราได้ดีที่สุด คือ Cit–sal-Cu ด้วยค่าเคลียร์โซนเฉลี่ยเท่ากับ 9±0.577 ที่ 1,000 ppm สำหรับการต้านอนุมูลอิสระด้วยเทคนิค DPPH พบว่า สารทุกตัวที่สังเคราะห์ได้ในครั้งนี้ออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH. ได้แตกต่างกัน แต่ทุกสารออกฤทธิ์แปรตามความเข้มข้น (Concentration dependence) โดยสารที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด คือสาร Cit-sal-Ag รองลงมา คือ สาร Cit-sal ส่วนความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP assay พบว่า สารที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่สุด คือ Cit-sal-Ag รองลงมาคือ Cit-D-Glu-Ag ผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้จึงมีประโยชน์มากต่อกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาโรคแอนแทรคโนสของพริก en_US
dc.description.abstract The purpose of this research was to synthesize physicochemical characterization and biological activities of nanoparticles with natural product derivatives as reducing agents to resist fungi called Colletotrichum gloeosporioides that are the main causes of pepper anthracnose and anti-oxidant. The research results revealed that the synthesized particles are polar particles having colors and good solubility in polar solvents. Having tested the substance resisting fungi via paper disc diffusion method, it was found that every substance can be used to resist fungi that are the main causes of anthracnose at the concentration of substance with 600 ppm. Moreover, Cit–sal-Cu is the most efficient substance used to resist fungi with the clear zone of an average 9±0.577 at 1,000 ppm. For anti-oxidant using DPPH technique, it was found that the all synthesized substance can be used as DPPH. anti-oxidant and the concentration dependence also affect the substance differently. Moreover, Cit-sal-Ag is found the best anti-oxidant substance and followed by Cit-sal. For anti-oxidant substance using FRAP assay, it showed that the substance that has the best effect is Cit-sal-Ag and followed by Cit-D-Glu-Ag. The research results are very useful for farmers experiencing pepper anthracnose. en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ไซโทรเนลลัล โรคแอนแทรคโนส ต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อนุภาคนาโน Citronellal, Anthracnose, Anti-oxidant, Natural product, Nanoparticles en_US
dc.title การทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของอนุภาคนาโนที่มีอนุพันธ์ไซโทรเนลลัล เป็นตัวรีดิวซ์ต้านเชื้อราก่อโรคของพริกแบบมีส่วนร่วมของชุมชน en_US
dc.title.alternative Biological evaluation of nanoparticles with citronellal derivatives as reducing agents against fungal disease of Capsicum by participation en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor kingkaewpatitungkho@gmail.com en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics