ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การวิเคราะห์การใช้คำเขมรในงานพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร : กรณีศึกษาจากกาพย์เห่เรือ นิราศธารทองแดง และนิราศธารโศก

Show simple item record

dc.contributor.author ณภัทร เชาว์นวม
dc.date.accessioned 2020-03-19T10:08:32Z
dc.date.available 2020-03-19T10:08:32Z
dc.date.issued 2017-10
dc.identifier.citation คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/5968
dc.description.abstract บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้คำเขมรจากงานพระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เรื่องกาพย์เห่เรือ นิราศธารทองแดง และนิราศธารโศก การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาตัวบทวรรณคดีทั้ง 3 เรื่องดังกล่าวแบบอ่านละเอียด แล้ววิเคราะห์รูปคำและความหมายของคำเขมรที่ปรากฏ ผลการวิจัยพบว่า เรื่องกาพย์เห่เรือ ปรากฏการใช้คำเขมรจำนวน 60 คำ ผลการวิเคราะห์รูปคำที่ปรากฏ พบว่า คำที่ยังคงรูปคำเดิมมี 26 คำ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะมี 11 คำ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปสระมี 10 คำ และ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะและสระมี 13 คำ ผลการวิเคราะห์ความหมาย พบว่า คำที่ยังคงความหมายเดิม มี 35 คำ คำที่ความหมายแคบเข้ามี 15 คำ และ คำที่ความหมายย้ายที่มี 10 คำ เรื่องนิราศธารทองแดง ปรากฏการใช้คำเขมรจำนวน 157 คำ ผลการวิเคราะห์รูปคำที่ปรากฏ พบว่า คำที่ยังคงรูปคำเดิมมี 48 คำ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะมี 39 คำ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปสระมี 24 คำ และ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะและสระมี 36 คำ ผลการวิเคราะห์ความหมาย พบว่า คำที่ยังคงความหมายเดิมมี 122 คำ คำที่ความหมายแคบเข้ามี 25 คำ และ คำที่ความหมายย้ายที่มี 10 คำ เรื่องนิราศธารโศก ปรากฏการใช้คำเขมรจำนวน 178 คำ ผลการวิเคราะห์รูปคำที่ปรากฏ พบว่า คำที่ยังคงรูปคำเดิมมี 65 คำ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะมี 37 คำ คำที่คำที่เปลี่ยนแปลงรูปสระมี 40 คำ และ คำที่เปลี่ยนแปลงรูปพยัญชนะและสระมี 35 คำ ผลการวิเคราะห์ความหมาย พบว่า คำที่ยังคงความหมายเดิม มี 146 คำ คำที่ความหมายแคบเข้ามี 27 คำ และ คำที่ความหมายย้ายที่มี 5 คำ ผลการศึกษาส่งผลให้ผู้วิจัยได้ข้อค้นพบเกี่ยวกับลักษณะของคำเขมรที่ปรากฏใช้ในวรรณคดีไทยทั้ง 3 เรื่อง ดังกล่าว ในประเด็นรูปคำและความหมาย ที่มีทั้งคงเดิมและเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นกรณีศึกษาเรื่องลักษณะการยืมคำภาษาเขมรในภาษาและวรรณคดีไทยได้ คำสำคัญ: คำเขมร รูปคำ ความหมาย en_US
dc.description.sponsorship คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ Buriram Rajabhat University en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.relation.ispartofseries 01/2560;-
dc.subject คำเขมร รูปคำ ความหมาย (Khmer words, form, meaning) en_US
dc.title การวิเคราะห์การใช้คำเขมรในงานพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร : กรณีศึกษาจากกาพย์เห่เรือ นิราศธารทองแดง และนิราศธารโศก en_US
dc.title.alternative An Analysis of Khmer Usage in Literary Works of Prince Dhammadhibet : A Case Study of Kap-He-Rue, Nirat-Thanthongdeang and Nirat-Thansok en_US
dc.type Research en_US
dc.contributor.emailauthor napat.ch@bru.ac.th en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics