ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

การศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อการรับรองคุณภาพ

Show simple item record

dc.contributor.author สุธีรา, สุนทรารักษ์
dc.date.accessioned 2017-10-18T04:30:48Z
dc.date.available 2017-10-18T04:30:48Z
dc.date.issued 2016
dc.identifier.citation การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 17 และการสัมมนาวิชาการเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสู่ชุมชน ครั้งที่ 5 en_US
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/3076
dc.description บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพปุ๋ยหมักจากเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุเหลือ ทิ้งทางการเกษตร เพื่อการรับรองคุณภาพของปุ๋ยหมัก สำหรับนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้อย่าง มั่นใจ ทั้งนี้ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 การวิเคราะห์คุณภาพปุ๋ยเพื่อ คัดเลือกตำรับทดลองของปุ๋ยที่ดีที่สุดสำหรับการใช้เป็นตัวแทนปุ๋ยหมักจากเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุ เหลือทิ้งทางการเกษตรการทดลองที่ 2 เป็นการประเมินสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนและหลัง การใช้ปุ๋ย ณ พื้นที่แปลงทดลอง ตำบลกังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ และการทดลองที่ 3 เป็น การทดสอบประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักจากเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยการ เปรียบเทียบกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยเคมีต่อปริมาณผลผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1) ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีคุณภาพดีที่สุด คือ ปุ๋ย หมักจากเศษอาหารร่วมกับเศษใบจามจุรี ทั้งนี้พิจารณาจากลักษณะทางกายภาพที่พึงประสงค์อันได้แก่ มีลักษณะอ่อนนุ่ม ยุ่ย ขาดง่าย มีกลิ่นคล้ายดินและสีมีสีน้ำตาลเข้ม รวมทั้งยังมีคุณสมบัติด้านปริมาณ ธาตุอาหารหลักอยู่ ในเกณฑ์ดีที่สุดเมื่อทำการเปรียบเทียบในทุกตำรับทดลอง 2) การประเมินสภาพความอุดมสมบูรณ์ของดินก่อนและหลังการใช้ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ร่วมกับเศษใบจามจุรี พบว่า ระดับความเป็นกรดเป็นด่างและปริมาณอินทรียวัตถุในดินเพิ่มขึ้น ในขณะ ที่ปุ๋ยเคมีทำให้ ค่าความเป็นกรดของดินและปริมาณอินทรียวัตถุในดินลดลง ส่วนปริมาณธาตุอาหาร หลักในดินหลังการทดลองของทุกตำรับทดลองมีปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มีค่าที่สูงขึ้นจากตัวอย่างดินก่อนการทดลองทั้งสิ้น ยกเว้น ตำรับทดลองดินเดิมที่มีปริมาณธาตุอาหารหลักในดินลดลง 3) ปริมาณผลผลิตข้าวเหนียวพันธุ์ กข 6 จากการใช้ปุ๋ยคอก อัตรา 2 ตัน/ไร่, ปุ๋ยหมักจากเศษ อาหารร่วมกับเศษใบจามจุรี อัตรา 0.06 ตัน/ไร่ และปุ๋ยเคมี อัตรา 0.03 ตัน/ไร่ มีปริมาณผลผลิตได้ เท่ากับ 592.15, 572.48 และ 557.45 กก./ไร่ ตามลำดับ กล่าวโดยสรุปได้ว่า ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารและใบจามจุรีมีประสิทธิภาพดีกว่าปุ๋ยเคมีหาก พิจารณาจากปริมาณผลผลิตเมล็ดข้าวเปลือกที่ได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้คุณภาพของดินดีขึ้นเนื่องจากส่งผลให้ปริมาณอินทรียวัตถุในดินหลังการทดลองสูงขึ้น และถึงแม้ว่าปริมาณผลผลิตที่ได้จาก ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารและใบจามจุรีจะมีปริมาณที่น้อยกว่าผลผลิตซึ่งได้จากปุ๋ยคอก แต่การใช้ปุ๋ยคอก ต้องใช้ในปริมาณมากไม่สะดวกต่อการใช้และวัตถุดิบก็หาได้ยาก ดังนั้นหากพิจารณาถึงความสะดวก ควรเลือกใช้ปุ๋ยหมักจากเศษอาหารและใบจามจุรีและเพื่อให้ได้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพดียิ่งขึ้นควรมีการปรับ ปริมาณฟอสฟอรัสและปริมาณโพแทสเซียมให้ได้ตามเกณฑ์ด้วยเนื่องจากยังมีปริมาณที่ต่ำกว่าเกณฑ์ มาตรฐานเล็กน้อย โดยการเติมวัสดุธรรมชาติที่มีฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูงลงไป เช่น กระดูกสัตว์ ป่นหรือขี้เถ้ากระดูกกับปุ๋ยหมักที่ได้ก่อนนำมาใช้งาน en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.subject ปุ๋ยหมักเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร en_US
dc.subject ปุ๋ยหมักเศษอาหารร่วมกับเศษ ใบ จามจุรี en_US
dc.subject ข้าวพันธุ์ กข 6 en_US
dc.subject mixed of food scraps and agricultural waste compost en_US
dc.subject mixed of food scraps and Yak leaf compost en_US
dc.subject RD 6 rice variety en_US
dc.title การศึกษาคุณภาพปุ๋ยหมักเศษอาหารร่วมกับเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อการรับรองคุณภาพ en_US
dc.title.alternative A STUDY OF MIXED FOOD SCRAPS AND AGRICULTURAL WASTE COMPOST QUALITY FOR QUALITY CERTIFICATION en_US
dc.type Proceedings en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics