ระบบคลังข้อมูลทางวิชาการ BRU

กรณีศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการให้ชุมชนตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงเรียน

Show simple item record

dc.contributor.author สงัด, ศรีเจริญ
dc.date.accessioned 2017-09-30T03:31:26Z
dc.date.available 2017-09-30T03:31:26Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/2632
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบจากการให้ชุมชนตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงเรียนในตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานสึกษา ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอนและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กำหนดวิธีการและหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดการให้ชุมชนตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย กำหนดจากผู้บริหารสถานศึกษา 5 คน ครูผู้สอน 40 คน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 45 คน จากโรงเรียนต่าง ๆ ในตำบลเขาดินเหนือ อำเภอบ้านกรวดจังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้งหมด 90 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ จัดกระทำข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์เป็นค่าร้อยล่ะ ผลการวิจัยพบว่า ด้านวิชาการ ชุมชนไม่มีส่วนร่วมช่วยเหลือหรือสนับสนุนการนิเทศภายใน การจัดหาหรือพัฒนาสื่อการเรียนการสอน แผนพัฒนาสถานศึกษาด้านการเรียนการสอน การบริหารการใช้การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการแสดงแนวคิด การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและให้ความเห็น เสนอกิจกรรมที่สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านวิชาการของโรงเรียน เพราะชุมชนยังเข้ามามีส่วนร่วมไม่มาก เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรและกิจกรรมต่าง ๆ ด้านวิชาการ โรงเรียนมีความต้องการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริการจัดการหลักสูตรท้องถิ่นร่วมกับทางโรงเรียน ดั้งนั้นโรงเรียนควรให้ความรู้เรื่องหลักสูตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน บทบาทหน้าที่ด้านวิชาการที่ควรมีร่วมกัน ด้านงบประมาณ ชุมชนไม่ตรวจสอบการบริหารจัดการพัสดุและสินทรัพย์ การใช้ทรัพยากรในการจัดการเรียนการสอน การกำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติการใช้ การเงินและบัญชีของโรงเรียน ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดตั้งงบประมาณ การวางแผนระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา กรณีการดำเนินการบริหารการจัดงบประมาณมีความล่าช้าหรือไม่ตรงตามแผนการ ชุมชนจะเกิดสงสัยว่าโรงเรียนว่าโรงเรียนไม่โปร่งใส ส่งผลให้โรงเรียนจึงขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้นโรงเรียนควรให้ชุมชนร่วมรับรู้และความเข้าใจในระบบการจัดทำบัญชี การจัดจ้างและมีส่วนร่วมในการพิจารณาเลือกซื้อวัสดุ อุปกรณ์ ควรมีการแจ้งรายละเอียดการดำเนินการของงบประมาณให้ชุมชนรับทราบเป็นระยะโดยละเอียด ชัดเจนและชี้แจงในประเด็นที่เป็นปัญหาให้ชุมชนได้รับฟังอย่างทั่วถึง ด้านการบริหารงานบุคคล ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนและกำหนดตำแหน่งการสรรหาบรรจุและแต่งตั้ง การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน การพิจารณาเลื่อนวิทยฐานะหรือตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของครู การกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากร มีส่วนร่วมส่งเสริมด้านวินัยของบุคลากร ส่งผลกระทบต่อความสามัคคี ความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างคณะครูภายในโรงเรียนหรือบางกรณีอาจส่งผลให้คณะครูขาดความไว้วางใจผู้บริการ ผู้บริหารควรทำความเข้าใจกับความเข้าใจกับครูผู้สอนที่มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์หรือถูกกล่าวหาให้เกิดความเสียหาย เปิดโอกาสให้มีการพูดคุยระหว่างคณะครูในโรงเรียนเพื่อสร้างความสมานสามัคคี ร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานภายในโรงเรียน ด้านการบริหารทั่วไป ชุมชนไม่มีส่วนร่วมพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของโรงเรียนมีส่วนช่วยติดตั้งหรือดูและซ่อมบำรุง ระดมทุนทรัพย์ในการจัดซื้อจัดหา ประสานความร่วมมือสนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษาทุกกิจกรรมของสถานศึกษากิจกรรม มีการตรวจสอบและการเผยแพร่ข่าวสาร ผลงานของโรงเรียน ให้ความช่วยเหลือนักเรียน การเผยแพร่ข้อมูลไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดความเสียหานแก่โรงเรียนหรือทางราชการ ควรให้ชุมชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทำความเข้าใจในกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียน และชี้แจงวิธีการเผยข้อมูลข่าวสารที่ดี เพื่อประโยชน์ของนักเรียนโรงเรียนรวมถึงชุมชน ผู้บริหาร ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษา เห็นพ้องกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนโดยภาพรวมจะเป็นความสัมพันธ์เกื้อหนุนกัน เป็นสัมพันธ์ภาพที่ดีปัญหาที่พบระหว่างโรงเรียนกับชุมชน คือ การเข้าใจผิด เมื่อมีการประชุมทำความเข้าใจกันปัญหาก็จบลงด้วยดี ทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีขวัญและกำลังใจในการเกื้อหนุนกัน en_US
dc.language.iso th_TH en_US
dc.publisher มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ en_US
dc.title กรณีศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการให้ชุมชนตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงเรียน en_US
dc.title.alternative Case Study of the Effect of Using Community to Examine the Performances of Schools en_US
dc.title.alternative Case Study of the Effect of Using Community to Examine the Performances of Schools en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์ en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics